วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554

อาหารพม่า


อาหาร
อาหารพม่ามีอิทธิพลอินเดีย  จีน และเอเชียอาคเนย์แฝงอยู่แต่ยังคงรักษาเอกลักษณ์เฉพาะตัวเอาไว้ได้
พม่ามีพรมแดนติดกับประเทศทีมีศิลปะในการปรุงอาหารเป็นเลิศหลายประเทศ   ทั้งอินเดีย จีน ลาว ไทย จึง เป็นธรรมดา ที่จะได้รับอิทธิมาบ้าง ทั้งในแง่ของการใช้เครื่องเทศ เครื่องปรุงรส เครื่องปรุงพื้นฐาน  และกรรมวิธีในการปรุง แต่สิ่งที่ทำให้อาหารพม่าแตกต่างไปก็คือวิธีที่นำมาปรุงเหล่านี้มาผสมผสานเข้าด้วยกัน แม้จะมีอาหารจีนนานาชนิดที่ทำจากถั่วเหลือง ทั้งซีอิ๊ว ถั่วงอก และเต้าหู้ แต่ในขณะเดียวกันพม่าก็มีเต้าหู้ที่ทำจากถั่วเขียวที่ผู้คนในรัฐฉานนิยมกินกันด้วย
ก๋วยเตี๋ยวแบบจีนก็กลายมาเป็นอาหารหลักของพม่าแต่ถูกดัดแปลงให้มีหน้าตาแบบพม่าแท้ อาทิ  โมงอินกา (ขนมจีน) ซึ่งน้ำทำจากซุปปลาเคี่ยวกับหยวกกล้วย มีเครื่องปรุงแบบไม่มีให้พบเห็นในจีน  เครื่องครัวนั้น มีทั้งกระทะก้นกลมลึกแบบจีน หม้อดินเผา กระทะโลหะท้องแบน และใบตองที่ใช้ห่ออาหารก่อนไปนึ่งหรือปิ้ง ไล่ตั้งแต่ข้าว เนื้อ ไปจนถึงปลาและขนมจำพวกแป้ง
อาหาร
อิทธิพลของอินเดียก็ปรากฏชัด โดยเฉพาะการใช้ถั่วเขียวมาปรุงอาหาร มีทั้งแบบที่ใช้เป็นเม็ด และแบบที่นำไปคั่วและนำมาบดเป็นผงเพื่อใช้โรยหน้าแกง ก๋วยเตี๋ยว และยำต่างๆ แต่พม่าก็ใช้เครื่องเทศของอินเดียอยู่เพียงไม่กี่อย่าง อาทิ ขมิ้น ยี่หร่า และผักชี โดยมากแล้ว จะนิยมเพิ่มรสชาติให้อาหารจำพวกแกงกะทิด้วยหัวหอมกระเทียมกับขิงทุบมากกว่า และส่วนใหญ่จะค่อยๆ เคี่ยวให้น้ำแกงข้นจนกลายเป็นสีน้ำตาลด้วย ใบผงกระหรี่ที่นิยมใช้กันมากในภาคใต้ของอินเดียนั้น บางภูมิภาคของพม่าก็รับมาใช้ด้วย แม้แต่อาหารอินเดียก็ถูกนำมาดัดแปลงรสชาติให้เข้ากับลิ้นของชาวพม่าได้หลายอย่างแต่อาหารพม่าจะคล้ายคลึงกับเพื่อนบ้านทางเอเชียอาคเนย์มากกว่าเพราะใช้สมุนไพรจำพวกตะไคร้ มะกรูด กะปิ น้ำปลา กะทิ และพริก (ทั้งพริกสด พริกแห้ง และพริกป่น ) เป็นส่วนประกอบและเครื่องปรุงหลักเหมือนกันๆ กัน
ในภาคกลางและภาคใต้น้ำปลากะปิเป็นเครื่องปรุงที่ขาดหายไปจากครัวไม่ได้ แบบเดียวกันกับที่ครัวตะวันตกขาดเกลือไม่ได้ นอกจากนี้ ยังมีเครื่องปรุงรสจำพวกมะขามเปียก ขิง ขมิ้น และน้ำตาลปึกเข้ามาช่วยชูรสอยู่บ่อยครั้งด้วย


ที่มา : http://www.xn--v3cg5cxe.net/?cat=80

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น